โปรแกรม LabVIEW
LabVIEW ย่อมาจาก Laboratory Virtual Intrument Engineering Workbench โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ LABVIEW จะเรียกว่า Virtual Intrument หรือจะเรียกย่อๆว่า VI ซึ่งหมายถึงเครื่องมือวัดเสมือน
LabVIEW มีจุดกำเนิดในปี 1983 โดยทางบริษัท National Intrument ได้เริ่มการค้นคว้าเพื่อจะหาวิธีลดเวลาในการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ในงานด้านระบบเครื่องมือวัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดการสร้าง LabVIEW หลังจากใช้เวลาวิจัยอยู่ 3 ปี ในปี 1986 บริษัทได้ปล่อย LabVIEW Version1 สู่ตลาดเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ Macintosh เท่านั้น เพราะระบบ graphic ของเครื่อง Macintosh เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้โปรแกรม LabVIEW
โปรแกรม LabVIEW เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการวัดและเครื่องมือวัดสำหรับงานทางวิศวกรรม และในตัวโปรแกรมจะประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่ใช้ช่วยในการวัดมากมายและแน่นอนที่สุด โปรแกรมนี้จะมีประโยชน์อย่างสูงเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมือวัดทางวิศวกรรมต่างๆ สิ่งที่ LabVIEW ต่างจากโปรแกรมอื่นอย่างเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ LabVIEW นี้เป็นโปรแกรมประเภท GUI โดยสมบูรณ์ นั่นคือไม่จำเป็นต้องเขียน code หรือคำสั่งใดๆ ทั้งสิ้น และที่สำคัญภาษาที่ใช้ในโปรแกรมนี้เราจะเรียกว่าภาษารูปภาพหรือภาษา G (Graphic Language) ซึ่งจะแทนการเขียนโปรแกรมเป็นบรรทัดอย่างที่เราคุ้นเคยกับภาษาพื้นฐาน เมื่อเราคุ้นเคยกับการใช้โปรแกรมแล้วจะพบว่า LabVIEW ช่วยอำนวยความสะดวกและสามารถลดเวลาในการเขียนโปรแกรมลงไปได้มาก โดยเฉพาะในงานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ในการวัดและการควบคุม
ข้อดีอีกประการหนึ่งของใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือวัดก็คือ สามรถใช้ทำเป็น Data Logger และ PLC (Programable Logic Controlled) ได้พร้อมกัน ซึ่งโดยปกติแล้วระบบควบคุมมักจะไม่มีเครื่องมือวัดจริงขั้นพื้นฐานหรือ Data Logger แม้จะเก็บข้อมูลได้แต่ การสั่งการทำงานกับอุปกรณ์อื่นจะมีความยุ่งยากในการสั่งมาก
DATA FLOW AND PROGRAMING
เนื่องจาก LabVIEW เป็นโปรแกรมที่ใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์แทนการเขียนด้วยตัวอักษรเหมือนโปรแกรมปกติทั่วไป ซึ่งลดความผิดพลาดด้านการสะกดผิดหรือพิมพ์ผิดออกไป การเขียนโปรแกรมแบบ G เป็นการเขียนโดยใช้หลักการ Data Flow ซึ่งเมื่อเริ่มส่งข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม เราจะต้องกำหนดทิศทางการไหลของข้อมูลว่าจะไปที่ส่วนใด ผ่านการประเมินผลและคำนวณในส่วนใดบ้าง และจะให้แสดงผลอย่างไร ซึ่งลักษณะการเขียนภาษา G หรือ Data Flow นี้จะมีลักษณะเหมือนกับการเขียน Block Diagram ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถให้ความสนใจกับการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องจดจำรูปแบบคำสั่งที่ยุ่งยาก ซึ่งหากจำได้ถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรมว่าก่อนจะเขียนโปรแกรมเราจะต้องเขียน Flow Chart ให้เสร็จสิ้นก่อน หลังจากตรวจสอบ Flow Chart เรียบร้อยแล้วเราจึงนำไปเขียนโปรแกรม ซึ่งจะมีความสะดวกมากขึ้นถ้าหากการเขียน Flow Chart ของ LabVIEW ก็คือการเขียนโปรแกรมนั่นเองซึ่งเป็นการลด ขั้นตอนการทำงานลงไปได้อย่างมาก
เราสามารถใช้ประโยชน์จาก LabVIEW ได้มากมายเช่น
- ใช้ทดแทน PLC
- ใช้บันทึกและควบคุมตัวแปรในกระบวนการผลิต เช่น อุณหภูม ความดัน และ ความชื้น
- ใช้ควบคุณคุณภาพและลดของเสียในกระบวนการผลิต
- ใช้จำลองการทำงานของระบบ
- ใช้ในการการตรวจสอบสิ่งบกพร่องในผลิตภัณฑ์ด้วยกล้องแทนสายตาคน
- ใช้ในการเฝ้าระวังและบำรุงรักษาเครื่องจักร
- ใช้ตรวจสอบหาสาเหตุการหยุดของเครื่องจักร
การใช้งานโปรแกรม LabVIEW
1. เปิดโปรแกรม LabVIEW ขึ้นมา
2. สร้าง VI ใหม่โดยไปที่ FILE>> New VI จะได้ขึ้นมา 2 หน้าต่าง
3. เขียนโปรแกรมที่ต้องการด้วย ภาษา G
ตัวอย่าง Blink LED with delay
ตัวอย่าง นาฬิกานับเวลาแบบนับถอยหลัง
แบบฝึกหัด นาฬิกาจับเวลาบาสเกตบอล
เราสามารถใช้ประโยชน์จาก LabVIEW ได้มากมายเช่น
- ใช้ทดแทน PLC
- ใช้บันทึกและควบคุมตัวแปรในกระบวนการผลิต เช่น อุณหภูม ความดัน และ ความชื้น
- ใช้ควบคุณคุณภาพและลดของเสียในกระบวนการผลิต
- ใช้จำลองการทำงานของระบบ
- ใช้ในการการตรวจสอบสิ่งบกพร่องในผลิตภัณฑ์ด้วยกล้องแทนสายตาคน
- ใช้ในการเฝ้าระวังและบำรุงรักษาเครื่องจักร
- ใช้ตรวจสอบหาสาเหตุการหยุดของเครื่องจักร
การใช้งานโปรแกรม LabVIEW
1. เปิดโปรแกรม LabVIEW ขึ้นมา
2. สร้าง VI ใหม่โดยไปที่ FILE>> New VI จะได้ขึ้นมา 2 หน้าต่าง
3. เขียนโปรแกรมที่ต้องการด้วย ภาษา G
ตัวอย่าง Blink LED with delay
ตัวอย่าง นาฬิกานับเวลาแบบนับถอยหลัง
แบบฝึกหัด นาฬิกาจับเวลาบาสเกตบอล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น